สรท.คงคาดการณ์ส่งออกปี 60 โต 5% ชงดูแลค่าบาทให้มีเสถียรภาพ

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

สรท.คงคาดการณ์ส่งออกปี 60 โต 5% ชงดูแลค่าบาทให้มีเสถียรภาพ

Date Time: 4 ก.ย. 2560 14:08 น.

Video

ศิรเดช โทณวณิก Gen 3 ดุสิตธานี ธุรกิจที่เป็นมากกว่าโรงแรม | On The Rise

Summary

  • สรท.คงคาดการณ์ส่งออกปี 60 โต 5% ก่อนประเมินอีกครั้ง มองขยายตัว 7% ค่อนข้างเหนื่อย จากบาทแข็ง ราคาสินค้าเกษตรลดลง เสนอกำกับดูแลเงินบาทให้มีเสถียรภาพ รวมถึงออกมาตรการต่างๆ เอื้อลงทุน....

Latest


สรท.คงคาดการณ์ส่งออกปี 60 โต 5% ก่อนประเมินอีกครั้ง มองขยายตัว 7% ค่อนข้างเหนื่อย จากบาทแข็ง ราคาสินค้าเกษตรลดลง เสนอกำกับดูแลเงินบาทให้มีเสถียรภาพ รวมถึงออกมาตรการต่างๆ เอื้อลงทุน....

เมื่อวันที่ 4 ก.ย. น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก กล่าวว่า ทิศทางการส่งออกที่จะผลักดันให้ขยายตัว 7% นั้น ต้องอาศัยปัจจัยหนุนหลายด้าน โดยภาวะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี ซึ่งจะเห็นจากภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาสสอง มีแนวโน้มดีขึ้น โดยตลาดที่สำคัญคือ CLMV ที่ไทยได้เปรียบเรื่องยุทธศาสตร์ที่ตั้ง ขณะที่ปัจจัยลบในช่วงที่เหลือของปีนี้ ประกอบด้วย สถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง โดยเฉพาะอาจเกิดความผันผวนจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า และการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้น, ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ที่ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก

รวมถึงปริมาณตู้บรรจุสินค้านำเข้าลดลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการขนส่งสินค้าเพื่อการส่งออก และอาจจะกระทบต่อปริมาณการส่งออกในไตรมาส 4 และส่งผลต่อการส่งออกในระยะยาว และสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ เช่น ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี เป็นต้น ขณะที่ปัญหาแรงงานมีการผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งคงต้องดูว่าในอนาคต หากมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าว รัฐจะมีแนวทางอย่างไร

ด้านนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธาน สรท. กล่าวว่า สรท.คงคาดการณ์ส่งออกปี 2560 ขยายตัวที่ระดับ 5% โดยขอรอดูสถานการณ์ส่งออกในเดือน ก.ย.-ต.ค. 60 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการส่งออกมากสุดของทุกปีก่อน จึงจะประเมินได้ว่าภาพรวมการส่งออกในปีนี้จะเป็นอย่างไร หากจะให้การส่งออกในปีนี้ขยายตัวในระดับ 7% มูลค่าการส่งออกในช่วง 5 เดือนที่เหลือจะต้องมีมูลค่าเฉลี่ยเดือนละ 19,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยการผลักดันการส่งออกในเดือน ส.ค. 60 ให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องค่อนข้างยาก เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้คาดว่าโอกาสที่การส่งออกในปีนี้จะขยายตัวที่ระดับ 5-6% มีความเป็นไปได้มากกว่า แต่ถ้าจะให้โต 7% ต้องให้ได้เฉลี่ยเดือนละ 19,600 ล้านเหรียญฯ ซึ่งค่อนข้างเหนื่อย

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกมากสุด คือ อัตราแลกเปลี่ยน โดยตั้งแต่ต้นปีเงินบาทแข็งค่าไป 7.42% แข็งค่าสุดในเอเชีย ทำให้ไม่เอื้อต่อการแข่งขันด้านการส่งออก โดยเฉพาะราคาสินค้าเกษตร ซึ่งขณะนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เฝ้าระวังการเก็งกำไรค่าเงินอยู่

ทั้งนี้ สภาผู้ส่งออกได้มีข้อเสนอแนะที่สำคัญสำหรับการแก้ไขปัญหาการส่งออกในระยะต่อไป คือ 1. ต้องกำกับดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ ไม่แข็งค่าสูงกว่าคู่ค้าและคู่แข่งสำคัญ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อกลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศสูง โดยเฉพาะเกษตรต้นน้ำ 2. พัฒนาผลิตภัณฑ์ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ไม่สามารถเข้าถึงหรือมีวงเงินเพียงพอ สำหรับการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามปกติ ให้สามารถป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างต่อเนื่อง

3. รัฐบาลต้องกำหนดรูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมให้เพียงพอต่อความต้องการ 4. ภาครัฐควรเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในการออกกฎหมายใหม่ และแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ประกาศ และระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และ 5. ภาครัฐต้องสนับสนุนการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในต่างประเทศ เพื่อให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์และทรัพยากรของประเทศที่เข้าไปลงทุน โดยเฉพาะในประเทศ CLMV (กัมพูชา, ลาว, เมียนมา, เวียดนาม).


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ