ภาษีสรรพสามิตใหม่ บังคับใช้ 16 ก.ย. เริ่มเก็บเครื่องดื่มผสมน้ำตาล

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ภาษีสรรพสามิตใหม่ บังคับใช้ 16 ก.ย. เริ่มเก็บเครื่องดื่มผสมน้ำตาล

Date Time: 25 ส.ค. 2560 16:20 น.

Video

โมเดลธุรกิจ Onlyfans ทำไมถึงมีแต่ได้กับได้ ? บริษัทมั่งคั่ง คนทำก็รวย | Digital Frontiers

Summary

  • ขุนคลัง คาด พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตใหม่ จะประกาศราชกิจจานุเบกษาวันที่ 25 ส.ค.นี้ ก่อนเริ่มบังคับใช้ 16 ก.ย. ยันไม่กระทบผู้ประกอบการ แจ้งเก็บภาษีน้ำหวาน เพื่อความเป็นธรรมต่อเครื่องดื่มทุกชนิด

Latest


ขุนคลัง คาด พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตใหม่ จะประกาศราชกิจจานุเบกษาวันที่ 25 ส.ค.นี้ ก่อนเริ่มบังคับใช้ 16 ก.ย. ยันไม่กระทบผู้ประกอบการ แจ้งเก็บภาษีน้ำหวาน เพื่อความเป็นธรรมต่อเครื่องดื่มทุกชนิด ส่วนมาตรการภาษีเพื่อการท่องเที่ยวยังไม่มีข้อสรุป...

วันที่ 25 ส.ค. 60 นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยว่า โครงสร้างอัตราภาษีสรรพสามิตใหม่ ภายใต้ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฉบับใหม่ที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 60 นั้น คาดว่าลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ววันนี้ ซึ่งหลักการของ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฉบับใหม่ที่เปลี่ยนแปลงนั้น เป็นการรวบรวมภาษีสรรพสามิตเดิมที่มีอยู่หลายฉบับมารวมไว้ในฉบับเดียว โดยมีการเปลี่ยนแปลงอัตราการคิดภาษีจากราคาหน้าโรงงานไปเป็นราคาขายปลีกแนะนำ ซึ่งจะทำให้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับโครงสร้างอัตราภาษี ในสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก คือ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณสูง (ภาษีน้ำหวาน) ซึ่งจากเดิมที่เครื่องดื่มบางชนิดไม่เคยต้องเสียภาษีเลย แต่รอบใหม่นี้จะต้องเสียภาษี ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับเครื่องดื่มทุกชนิด นอกจากนี้ภาษีเครื่องดื่ม โดยอัตราใหม่จะมีการเก็บภาษีจาก 2 ส่วนคือ ฐานราคา และระดับความหวาน หรือปริมาณน้ำตาลที่เป็นส่วนประกอบจากเดิมที่จะคิดจากฐานราคาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยในส่วนนี้เป็นไปตามข้อเรียกร้องของกระทรวงสาธารณสุข และกลุ่ม NGO ที่ต้องการดูแลสุขภาพของประชาชน

อย่างไรก็ตาม อัตราภาษีใหม่ที่เรียกเก็บจากเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงนั้น อัตราภาษีจะค่อยๆ ปรับขึ้นไปจนถึงอัตราที่ต้องการจะเห็นในอีก 6 ปีข้างหน้า ซึ่งทำให้มีเวลาถึง 6 ปี ที่ผู้ประกอบการจะได้ปรับตัวในการปรับส่วนผสมของเครื่องดื่มโดยลดปริมาณน้ำตาลลง

ส่วนมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป เนื่องจากสิ่งที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นำเสนอมานั้น ถือว่าเกินกว่าที่ฐานะการคลังจะรับได้ ขณะเดียวกัน รัฐบาลต้องการจะส่งเสริมการท่องเที่ยวในชนบทมากกว่าแหล่งท่องเที่ยวในเมืองใหญ่ ซึ่งในจุดนี้จะต้องมาพิจารณารายละเอียดเรื่องของใบกำกับภาษีที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวหรือชุมชนในท้องถิ่นจะออกให้แก่นักท่องเที่ยวว่าจะมีแนวทางอย่างไร.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ