หนี้เน่า "เอสเอ็มอี" พุ่งไม่หยุด

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

หนี้เน่า "เอสเอ็มอี" พุ่งไม่หยุด

Date Time: 10 ส.ค. 2560 05:15 น.

Summary

  • นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้านักวิเคราะห์ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทิศทางหนี้เสียของธุรกิจเอสเอ็มอียังมีโอกาสเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้

Latest

อัปเดต 5 กลยุทธ์ขายของ พิชิตใจคน Gen Z อยากรักษ์โลก แต่ของมันต้องมี แบรนด์รับมืออย่างไร?

เผยรายเล็กเข้าถึงแหล่งทุนได้น้อยดึงดัชนีวูบ

นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้านักวิเคราะห์ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทิศทางหนี้เสียของธุรกิจเอสเอ็มอียังมีโอกาสเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่แย่กว่าที่คาด เพราะเดิมมองว่าหนี้เสียจะทยอยลดลงหลังผ่านครึ่งปีแรก แต่ความจริงในขณะนี้หนี้เสียไม่ได้ลดลงเลยและยังคงสูงขึ้นอีก ซึ่งเมื่อถึงสิ้นปีประเมินว่าหนี้เสียเอสเอ็มอีทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ น่าจะเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก 4.4% เพิ่มเป็น 4.6-4.7% ส่วนปีหน้าก็คงต้องติดตามดูว่าหนี้เสียจะลดลงอีกหรือไม่

“ยิ่งเมื่อวิเคราะห์ฯ รายละเอียดข้อมูลเอสเอ็มอีที่จดทะเบียนตั้งแต่ปี 51-59 กว่า 12,000 ราย พบว่า ธุรกิจรายเล็กที่มีรายได้ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งมีจำนวนมากเป็น 3 ใน 4 ของธุรกิจทั้งหมด มีปัญหาในการทำธุรกิจอยู่มาก โดยในตลอด 9 ปีที่ผ่านมามีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพียง 1 เท่าตัว น้อยกว่าเอสเอ็มอีขนาดกลางที่จดทะเบียนนิติบุคคลมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 3-4 เท่าตัว และรายเล็กยังเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้น้อยกว่ารายกลางถึง 10 เท่าตัว โดยเฉพาะการแปลงสินค้าเป็นเงินสดได้เร็วกว่า และมีสัดส่วนของสินทรัพย์ที่สามารถใช้เป็นหลักประกันขอสินเชื่อสูงกว่ากลุ่มแรกด้วย”

สถานการณ์ดังกล่าวได้สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบีไตรมาส 2 ที่ปรับตัวลดลงจากระดับ 40.6 มาอยู่ที่ 39.6 ขณะที่ความเชื่อมั่นใน 3 เดือนข้างหน้าส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเชื่อมั่น เพราะดัชนีลดลงจาก 49.4 เหลือ 48.8 ที่สำคัญค่าดัชนียังต่ำกว่า 50

“จีดีพีในปีนี้แม้จะขยายตัวได้ดี แต่เมื่อมองไปไส้ในแล้วไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิด เพราะสัญญาณการทำธุรกิจในประเทศยังไม่ฟื้นตัวเลย การเติบโตยังมาจากภายนอกทั้งการส่งออก และท่องเที่ยว โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีที่ยังซึมๆ เช่นเดียวกันกับเงินกู้เอสเอ็มอีก็ยังไม่ขยายตัว โดยครึ่งปีแรกเอสเอ็มอียังต้องเผชิญอุปสรรคด้านต้นทุนหลายระลอก เริ่มตั้งแต่ค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ทำให้ต้นทุนค่าแรงในภูมิภาคเดิมอยู่ที่ 222-273 บาท เพิ่มเป็น 300-310 บาท ตามด้วยกลางปีหลังประกาศ พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวทำให้เกิดภาวะขาดแคลนแรงงานฉับพลัน เมื่อผนวกกับราคาสินค้าเกษตรที่ปรับเพิ่มเพียงเล็กน้อย ภาคธุรกิจต้องเผชิญกับความไม่คล่องตัวทั้งในการบริหารต้นทุนและสร้างรายได้ต่อ”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ