สรท. ปรับคาดการณ์ส่งออกปี 60 โต 5% มองกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ สดใส

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

สรท. ปรับคาดการณ์ส่งออกปี 60 โต 5% มองกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ สดใส

Date Time: 1 ส.ค. 2560 14:37 น.

Video

RAVIPA จิวเวลรี่ มู มินิมอล ปั้นแบรนด์ไทยบนเวทีโลก | On The Rise

Summary

  • สภาผู้ส่งออก ปรับคาดการณ์ส่งออกปี 60 โต 5% จากการฟื้นตัวเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก แนะดูแลค่าบาทไม่ให้แข็งกว่าคู่แข่ง ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน และยกระดับการค้าระหว่างประเทศ...

Latest


สภาผู้ส่งออก ปรับคาดการณ์ส่งออกปี 60 โต 5% จากการฟื้นตัวเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก แนะดูแลค่าบาทไม่ให้แข็งกว่าคู่แข่ง ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน และยกระดับการค้าระหว่างประเทศ...

เมื่อวันที่ 1 ส.ค. น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก ได้ปรับคาดการณ์ทิศทางการเติบโตของมูลค่าการส่งออกในปี 60 เพิ่มขึ้นเป็น 5% จากเดิมที่คาดไว้ 3.5% เนื่องจากมีปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ 1.การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก และความเชื่อมั่นต่อสินค้าไทยมีมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าจากคู่แข่งสำคัญ ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อสินค้าไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ 2.การปรับตัวของผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมต่อกระแสเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Internet of Thing (IoT) โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะมีทิศทางที่ดีขึ้นในไตรมาส 4

อย่างไรก็ดี การส่งออกในปีนี้ยังคงมีปัจจัยลบที่สำคัญ คือ 1.อัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง และอาจเกิดความผันผวนระยะสั้น 2.ราคาน้ำมันดิบที่ทรงตัวยังเป็นปัจจัยกดดันราคาสินค้าเกษตร 3.ผลกระทบระยะสั้นและระยะกลางจากการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560 ต่อกำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม และ 4.สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างกาตาร์และกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับที่ยังไม่มีข้อยุติ

ทั้งนี้ได้มีข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไขปัญหาการส่งออกในระยะถัดไป คือ 1.ต้องกำกับดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ ไม่แข็งค่าสูงกว่าคู่ค้าและคู่แข่งสำคัญ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อกลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศสูง 2.ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ไม่สามารถเข้าถึง หรือไม่มีวงเงินเพียงพอสำหรับการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามปกติได้

3.รัฐบาลต้องกำหนดรูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมให้เพียงพอต่อความต้องการ รวมทั้งกำกับดูแลแรงงานต่างด้าว เพราะจะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวม ตลอดจนความสำเร็จของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการดึงดูดนักลงทุนภาคอุตสาหกรรมจากต่างประเทศในระยะยาว และ 4.การยกระดับการค้าระหว่างประเทศ โดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกกฎหมายใหม่ ตลอดจนการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติเดิม เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการไทย.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์