เปิดมุมคิด Gen Y “พชร อารยะการกุล” มองจุดดีของทุก Gen เพื่อให้เราอยู่ร่วมกันได้

Business & Marketing

Leadership & Culture

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เปิดมุมคิด Gen Y “พชร อารยะการกุล” มองจุดดีของทุก Gen เพื่อให้เราอยู่ร่วมกันได้

Date Time: 13 มิ.ย. 2567 18:58 น.

Video

สาเหตุที่ทำให้ Intel อดีตยักษ์ใหญ่ชิปโลก ล้าหลังยุค AI | Digital Frontiers

Summary

  • จะต่างอย่างไรให้เข้าใจ เมื่อมนุษย์ต่าง Gen มีมุมมองที่ “ต่างกัน” เปิดมุมคิด Gen Y “พชร อารยะการกุล” ที่มองจุดดีของทุก Gen เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้

คนที่เกิดในยุคที่ต่างกันก็มักจะเติบโตในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป จึงไม่แปลกที่คน “ต่างยุคต่างสมัย” จะมีลักษณะนิสัย ความคิด ที่หลากหลาย และไม่เหมือนกัน แต่จะต่างอย่างไรให้ “เข้าใจ” 

“ไทยรัฐ กรุ๊ป” จัดงาน Thairath Forum 2024 ภายใต้หัวข้อ “Talk of the GENs” เปิดเวทีความคิดหลากหลายมุมมองของคนหลายเจน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความสนใจ ให้เกิดความเข้าใจร่วมกันของคนทุกเจเนอเรชัน “แม้ต่างวัยแต่ไม่แตกต่าง” ไม่ว่าจะในด้านสังคม ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ทัศนคติในการทำงาน หรือแม้แต่การเมือง และแนวคิดที่อยากจะส่งต่อ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ถึงต่าง Gen ก็ Blend กันได้ไม่ยาก

โบ๊ท-พชร อารยะการกุล CEO บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ตัวแทน Gen Y บอกเล่าเรื่องราวของคนที่เป็นเสมือน “ลูกผสม” เนื่องจากอยู่ระหว่างยุคสมัยท่ามกลาง Gen X และ Gen Z ที่ขนาบข้าง 

โดยเริ่มแรก พชร เล่าว่า แน่นอนทุก Generation มีความแตกต่างอยู่แล้ว เพราะในแต่ละช่วงวัยก็จะมีจุดแข็ง และจุดอ่อน ที่ไม่เหมือนกัน เริ่มจากวิธีจีบสาวก็ต่างกันทั้งวิธีการและอุปกรณ์สื่อสารของแต่ละยุค หรือแม้แต่มุมมองต่อสิ่งที่เรียกว่า “Work Life Balance”

Work Life Balance ของแต่ละคนคืออะไร ทำได้จริงไหม?

ในมุมของการทำงาน เขามองว่า Gen Y เหมือนเป็นลูกผสม และคำว่า Work life balance ก็เริ่มมีคำนี้เกิดขึ้นมา ส่วนในเชิงของสายอาชีพ Gen Y ส่วนใหญ่จะย้ายงานบ่อย โดยมีการตั้งธงไว้ประมาณ 2-3 ปี เพราะอยากหาความก้าวหน้า เปลี่ยนรูปแบบงาน หรือทดลองอะไรใหม่ๆ บางคนอยากทำธุรกิจของตัวเอง เก็บเงินไว้ลงทุนต่อยอด สร้างความมั่งคั่ง และจะเป็นมายเซ็ตแบบนี้มากขึ้น จนกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนถวิลหา แต่โดยส่วนตัว พชร ย้ำว่า เขาเป็นกลุ่มที่ Work hard Play hard มากกว่า 

การเมือง กับคนต่าง Gen 

ขณะที่ด้าน “การเมือง” กับแนวคิดของคนต่าง Gen ในยุคของ Gen Y หลายๆ คน เหมือนจะพยายามคิดไปในทางเดียวกัน เพราะมองว่าหากตัวเอง “คิดต่าง” มันจะแปลก แต่เมื่อเทียบกับปัจจุบัน “ความต่าง” เป็นเรื่องปกติ เพราะด้วยยุคที่โตมา แม้ทุกคนจะมีแกนของความคิด ถ้าใครคิดไม่เหมือนจะเงียบไว้ก่อน แต่เสียงที่ดังขึ้นมามักจะเป็นเสียงเดียวกัน

รัฐบาลในฝัน เจอหรือยัง?

ส่วนรัฐบาลในฝัน เป็นอย่างไรนั้น? พชร มองว่า ในฐานะนักธุรกิจ “รัฐบาลในฝัน” ต้องเป็นรัฐบาลที่มองภาคระยะยาว ด้วยเกมการเมืองส่วนใหญ่ จะมองถึงผลประโยชน์ในระยะสั้น เพราะมีเวลาจำกัดและอยากที่จะได้รับเลือกตั้งใหม่ ฉะนั้นจึงมองที่โครงสร้างระยะยาว ซึ่งในฐานะนักธุรกิจ อยากจะเห็นโครงการที่จะช่วยให้ประเทศขับเคลื่อนไปได้ในระยะยาว โดยไม่ได้หวังว่าทำวันนี้ เพื่อให้เลือกตั้งในครั้งหน้าเพียงอย่างเดียว และยิ่งงานที่ยากมาก เช่น ระบบการศึกษา ไม่มีทางแก้ได้ในระยะสั้นๆ อย่างแน่นอน ดังนั้นในมุมคนทำธุรกิจที่เคยเห็นความผิดหวัง โดนหลอก ผ่านๆ มา ตอนนี้สิ่งที่อยากได้คืออะไรก็ได้ ที่จะเห็นในระยะยาว 

ย้ายประเทศ ดี หรือ แย่กว่าในความเห็นของคุณ? 

ขณะที่ประเด็นในเรื่องของเมื่อคนอยู่อยากหนีไป แต่คนไกลอยากกลับประเทศ ย้ายประเทศ ดี หรือ แย่กว่าในความคิดของ Gen Y พชร มองว่า ด้วย Gen Y มีทั้งคนที่อยากย้าย และไม่ได้อยากย้าย ซึ่งส่วนตัวอยู่มาหลายประเทศทั้งทำงาน และเรียน ความรู้สึกส่วนตัวไม่ได้อยากย้ายประเทศ และไม่มีความคิดนี้ เพราะสิ่งหนึ่งคือที่ค่อนข้างที่จะให้คุณค่าคือ เรื่องของ Relationship กับครอบครัว เพื่อนฝูง หากย้ายไปคนเดียว แล้วที่เหลืออยู่ที่นี่จึงรู้สึกว่ารับไม่ไหว รู้สึกขาดอะไรในชีวิตไป ด้วยความที่มีครอบครัว เพื่อนฝูง คนที่รู้จัก คนที่เคารพนับถือ และคนที่อยากทำงานด้วย ส่วนตัวจึงชอบที่จะอยู่ “เมืองไทย” มากกว่า 

จริงไหมที่ประเทศไทยขับเคลื่อนด้วย “แรงดราม่า” ต้องด่าก่อนถึงจะปรับปรุง

คำถามนี้ พชร ให้มุมมองว่า ส่วนหนึ่งคนเรา Attack “เรื่องดราม่า” มากกว่า แต่อีกส่วนหนึ่งคือ เมื่อเรามีสื่อลักษณะโซเชียลมีเดีย มันเป็นการสื่อสาร 2 ทาง ฉะนั้นเราไม่ใช่แค่ฟัง แต่เราเพิ่มเติมความคิดเห็น มีรีแอ็กชันได้ มันทำให้เราสามารถต่อยอด และมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น อินมากขึ้นกับสิ่งที่เราอ่าน และเมื่อมีคนมาร่วมวง จึงกลายเป็น “พายุหมุน” และอีกอย่างคือ สื่อสมัยก่อนมันความจำกัดประมาณนึง แต่ปัจจุบันเราไม่รู้ว่าขอบเขตมันอยู่ตรงไหน จากกลุ่มหนึ่งไปยังกลุ่มหนึ่ง

ฉะนั้นพายุหมุนไปได้แบบไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าเป็นเรื่องที่ “ด่า” แล้วมันหมุน แล้วดันถูกจริตกับคนอ่านก็อาจทำให้เกิดแรงปะทะ ไปยังคนที่ต้องทำอะไรบ้างอย่างเพื่อกลบข่าวก็คงมีผลได้ว่า “ต้องด่าก่อนถึงจะปรับปรุง” แต่ไม่อยากไปโทษว่าเป็นเพราะสังคม เพราะต้องยอมรับว่าด้วยมีรีแอ็กชันมันทำให้ทุกอย่างขยายขึ้น ซึ่ง “ข่าวดี” ก็เช่นกัน 

คนไทย ยิ่งด่ายิ่งดัง แถมลืมง่าย ยุคนี้ยังใช้ได้อยู่ไหม

ยุคนี้ไม่ใช่แค่ “ลืมง่าย ลืมยาก” ยิ่งในโซเชียลมีเดียมีการบันทึกไว้และเอาออกไม่ได้ แม้เราจะลืมไปแล้ว แต่อีกสักพักอาจจะมีคนจำได้ แต่ในยุคก่อนไม่มีอินเทอร์เน็ต มันอาจจะคุ้ยข้อมูลได้ยาก แต่กระนั้นอย่าโดนดีกว่า เพราะไม่มีใครที่ชอบ และส่วนตัวก็ไม่ชอบด้วยเช่นกัน

สังคมไทยอยากรู้เรื่องชาวบ้าน แบบป้าข้างบ้าน จริงหรือ? 

ส่วนการที่ “สังคมไทยอยากรู้เรื่องชาวบ้าน” ปฏิเสธไม่ได้ว่า จากหลายๆ คำถามที่เกิดขึ้น เมื่อ Gen Y เกิดมาอยู่ตรงกลาง ทำให้คน Gen นี้ปรับตัวได้ แม้ว่าตะมีรำคาญบ้างก็ตาม แต่ไม่ได้ถึงขั้นทนไม่ได้ เพราะด้วยความที่รู้สึกว่าถ้าเป็นคนรุ่นเราจะอ่อนไหว เวลาจะคุยกับเพื่อนก็จะไม่ได้ไปละลาบละล้วงถึง สิทธิส่วนตัวของบุคคลนั้นๆ  

สิ่งที่อยากส่งต่อให้อีก Gen

จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า “การที่เราอยู่ใน Gen ตรงกลาง เราได้เห็นข้อดีของ Gen อื่นๆ ซึ่งล้วนดีทุก Gen คนที่อยู่มาก่อนก็มีจุดดี ส่วน Gen ใหม่ก็กล้าแสดงออก ดังนั้นหากเรามองในจุดดีของทุก Gen จะทำให้เราอยู่ร่วมกันได้ดีขึ้น” พชร กล่าวทิ้งท้าย 

ติดตามข่าวสารด้านการตลาด กับ Thairath Money ได้ที่
https://www.thairath.co.th/money/business_marketing

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์