ผลสำรวจชี้สภาพแวดล้อมที่ทำงาน สำหรับผู้หญิงในไทยเปลี่ยนไปในทางดี ด้านญี่ปุ่น-เกาหลีใต้พัฒนาน้อยสุด

Business & Marketing

Leadership & Culture

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ผลสำรวจชี้สภาพแวดล้อมที่ทำงาน สำหรับผู้หญิงในไทยเปลี่ยนไปในทางดี ด้านญี่ปุ่น-เกาหลีใต้พัฒนาน้อยสุด

Date Time: 3 พ.ย. 2566 17:57 น.

Video

บุกโรงงาน PANDORA ช่างไทยผลิตจิวเวลรี่ แบรนด์โลกแสนล้าน | On The Rise

Summary

  • Agoda (อโกด้า) รายงานผลสำรวจ “ผู้หญิงในที่ทำงานในภูมิภาคเอเชีย” (Women in the Workplace: Asia) โดยสำรวจผู้คนจำนวน 12,000 คน ใน 10 ประเทศเอเชีย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรที่ต้องการรักษาพนักงานที่มีความสามารถ

Latest


Agoda (อโกด้า) รายงานผลสำรวจ “ผู้หญิงในที่ทำงานในภูมิภาคเอเชีย” (Women in the Workplace: Asia) โดยสำรวจผู้คนจำนวน 12,000 คน ใน 10 ประเทศเอเชีย ซึ่งสามเรื่องสำคัญซึ่งอยู่ในอันดับที่สูงกว่าเรื่องพื้นฐานอย่างการจ่ายค่าตอบแทนอย่างเท่าเทียม คือการมองเห็นโอกาสอย่างชัดเจน ความยืดหยุ่นในที่ทำงาน และการเข้าถึงโอกาส 

เอเลียนา คาร์เมล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล อโกด้า กล่าวว่า ผลสำรวจนี้มีประโยชน์ต่อองค์กรที่ต้องการรักษาคนเก่งที่มีคุณภาพในภูมิภาคเอเชีย “การสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้ผู้คนรู้สึกว่าได้รับความเคารพทั้งในสังคมและทางอาชีพเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ความเป็นธรรมทางโอกาส ทั้งความสามารถในการมองเห็นโอกาสที่มีอยู่ และการเข้าถึงเครื่องมือ หรือการฝึกอบรมเพื่อเข้าถึงโอกาส เป็นคำตอบที่เราเห็นได้ชัดเจนมากจากการสำรวจครั้งนี้” 

“สำหรับองค์กรที่ต้องการจ้างคนเก่งในระดับแนวหน้า (top talent) เส้นทางอาชีพ เป้าหมายที่ชัดเจน และความชัดเจนว่าความสำเร็จหน้าตาเป็นอย่างไรนั้นสำคัญมากในปัจจุบัน”

นอกจากนี้เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่าเพดานที่มองไม่เห็น (glass ceiling) ซึ่งเปรียบเสมือนเพดานที่กีดกันความก้าวหน้าของคนทุกเพศนั้น ยังคงมีอยู่ในประเทศของตัวเอง โดยผู้ตอบแบบสอบถามจากเวียดนาม ไทย และไต้หวัน มีแนวโน้มที่จะเห็นด้วยมากกว่า 

และยังพบว่าเพศชาย และนอน-ไบนารี ที่เชื่อว่าเพดานที่มองไม่เห็นยังคงมีอยู่ มีสัดส่วนน้อยกว่าเพศชายหญิง และคนในช่วงอายุ 18-24 ปี มีแนวโน้มที่จะลาออก หรือรู้จักคนที่ลาออกเนื่องจากการเลือกปฏิบัติทางเพศมากกว่า เมื่อเทียบกับคนอายุมากกว่า 55 ปี 

ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในที่ทำงานก็เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 7 ใน 10 เชื่อว่าสภาพแวดล้อมของที่ทำงานของผู้หญิงเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และมีเพียง 8% ที่เชื่อว่าเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง

และเมื่อมองผลสำรวจแยกตามแต่ละประเทศจะเห็นได้ว่าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้มีแนวโน้มที่จะเห็นว่าสภาพแวดล้อมของที่ทำงานสำหรับผู้หญิงมีการพัฒนาน้อยที่สุด หรือมองว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย หรือมองว่าเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง ในทางตรงกันข้ามผู้ตอบแบบสอบถามจากฟิลิปปินส์ อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย มองว่ามีการพัฒนาที่ดีขึ้นมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

เอเลียนา คาร์เมล กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการสำรวจของอโกด้าแสดงให้เห็นว่าคนอายุ 18-24 ปี มีแนวโน้มที่จะไม่ทนต่อการเลือกปฏิบัติทางเพศมากกว่า ซึ่งองค์กรที่จะประสบความสำเร็จจำเป็นจะต้องสร้างวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมที่ไม่เพียงส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ แต่ต้องทำให้ทุกคนรู้บทบาทและเห็นโอกาสของตัวเองอย่างชัดเจน หรือเพียงแค่นำเสนอความเท่าเทียมด้วยการใช้แนวทางปฏิบัติที่สร้างความยืดหยุ่นในการทำงานให้พนักงาน เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีกลุ่มคนใดเสียเปรียบ

พร้อมกันนี้ความสมดุลทางเพศในกลุ่มพนักงานยังคงเป็นปัจจัยที่ควรคำนึงถึง โดย 2 ใน 3 (66%) ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศต่างๆ ระบุว่าความสมดุลทางเพศในกลุ่มพนักงานเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18-24 ปี 

ดังนั้น การเพิ่มความหลากหลายทางเพศในทีมผู้บริหารหรือผู้นำจึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นสำหรับองค์กร โดยผลการสำรวจพบว่าความสมดุลทางเพศในกลุ่มพนักงานจะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมของการทำงานที่ยอมรับคนทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยก พร้อมช่วยดึงดูดและรักษาคนเก่ง ขณะเดียวกันก็สามารถปรับปรุงผลลัพธ์ทางธุรกิจให้ดีขึ้นได้

เอเลียนา คาร์เมล ระบุว่า ผลการสำรวจผู้หญิงในที่ทำงานในภูมิภาคเอเชียครั้งแรกของอโกด้า เผยให้เห็นว่าทัศนคติต่อการยอมรับคนทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยกในสถานที่ทำงานเปลี่ยนแปลงไปตามกลุ่มคนแต่ละรุ่น การทำความเข้าใจ และยอมรับความแตกต่างระหว่างคนแต่ละรุ่นในกลุ่มพนักงานไม่ได้เป็นเพียงข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์เท่านั้น แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อกนวัตกรรม ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และสร้างสถานที่ทำงานที่ประสบความสำเร็จในมุมมองที่หลากหลาย 

และผลสำรวจนี้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญในการสร้างทีมผู้นำที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการเป็นตัวแทนทางเพศ ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ไม่แบ่งแยก ดึงดูดคนที่มีความสามารถ และขับเคลื่อนความสำเร็จของธุรกิจ


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ