ทัศนคติมีผลต่อองค์กร เมื่อคนต่าง Gen มาเจอกัน จะ “รัน” งานอย่างไรให้ไม่สะดุด?

Business & Marketing

Leadership & Culture

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ทัศนคติมีผลต่อองค์กร เมื่อคนต่าง Gen มาเจอกัน จะ “รัน” งานอย่างไรให้ไม่สะดุด?

Date Time: 28 ก.ย. 2566 19:30 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • เมื่อบอสสายลุย ต้องมาคุยกับลูกน้องปากแจ๋ว งานทอล์กครั้งแรกของ Thairath Money X Mission To The Moon : Special Talk ที่จับบอสตัวตึง มาแชร์มุมมองการทำงานของคนต่าง Gen โดย บุ๋ม-บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์, แท็ป-รวิศ หาญอุตสาหะ, รดา-ลภัสรดา พิพัฒน์ สานฝันทัศนคติคนต่าง Gen ที่อยากได้หัวหน้า และ ลูกน้อง ในแบบที่ไม่ Toxic

นิยามความสำเร็จของคนในแต่ละ Gen ในฐานะส่วนตัว เจ้านาย ลูกน้อง

คุณบุ๋ม บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ Founder, MANA PEETI DEEJAI CO., LTD. และ Co- Founder, แบรนด์ “หมึกมานะ” ธุรกิจประมงพื้นบ้าน เจ้านายสายเป๊ะ เล่าว่า ตอนเป็นลูกน้องจะมีความคิดแบบขบถ จะรู้ว่าตอนเป็นเด็กเราไม่ชอบอะไร และวันหนึ่งหากเป็นหัวหน้าเราจะไม่ทำแบบนั้น อย่างแรกในฐานะหัวหน้าที่รับไม่ได้ ไม่ชอบคนที่บอกว่า “รู้ทุกอย่าง เก่งทุกอย่าง” หลงตัวเองเป็นน้ำเต็มแก้ว เพราะชีวิตคือการเรียนรู้ตลอดเวลา

ดังนั้นหากให้เลือกระหว่างคนที่ฉลาด แต่ Toxic กับโง่ แต่ Positive เราเลือกคนที่ “โง่” เพราะทัศนคติมีผลในการพัฒนาองค์กร 

จากประสบการณ์ในการทำงานอยู่องค์กร เวลาเราสัมภาษณ์รับน้องเข้าทำงาน มักชอบถามว่า Work life balance หากใครเชื่อเราจะไม่รับ เพราะเราไม่เชื่อ แต่เราเชื่อเรื่อง Work life harmony ซึ่งคือการที่ชีวิตกับงานมันไปด้วยกันได้ 

ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้างาน กับลูกน้อง ต้องหาทางตรงกลางกันให้เจอ มันต้องมีแนวทาง และใช้เวลาศึกษาซึ่งกันและกัน ไม่ใช่เหยียบเส้นล้ำเส้นกันตลอดเวลา สุดท้ายถ้ามายืนอยู่ตรงกลางก็จะแฮปปี้ด้วยกันทุกฝ่าย

Work culture ของพี่บุ๋ม 3 ข้อคือ

  1. สร้างทีม We are Winning Team เรามาเพื่อชนะ เพราะคนทำงานทุกคนไม่มีใครอยากอยู่ในทีมที่ Loser เพราะชนะมีหลายมิติ เราได้เขาได้ ทุกคนชนะ มีความสำเร็จร่วมกัน

  2. ทุกคนคือพี่น้อง ตั้งแต่อยู่องค์กรใหญ่จากธุรกิจเล็กๆ เราเหมือนพี่น้อง เพื่อน เราเป็นคนที่ตรงชัดเจน เราคุยกับลูกน้องได้หมดทั้งในเวลาทำงาน และนอกงาน สำหรับเรามันจะดีกว่าไหม หากเราทุกคนรักกันไม่ใช่ฐานะนายจ้าง แต่ฐานะ บุ๋มที่เป็นคนให้ชีวิตให้โอกาส เพราะสุดท้ายมันยังมีเส้นทางอีกยาวไกล

  3. ทุกสิ่งเป็นไปได้ ถ้าคนในทีมคิดว่าสิ่งที่เราทำอยู่เป็นสิ่งเป็นไปได้ คนในทีมจะช่วยคิดแก้ปัญหา สนุกไปด้วยกัน ดังนั้นงานที่โคตรท้าทายก็จะทำได้

ส่วน Toxic Culture คือ การคิดว่าคนอื่นแย่หมด หากอยู่ในบริษัทที่มองว่าคนอื่นว่าง แต่ตัวเองยุ่ง เมื่อเราเจอคน Toxic Culture คนคนนั้นอาจจะไม่ได้เลว แต่เขาโดนกระทำ ทำให้เขาไม่สามารถคิดแบบบวกได้แล้ว เราจึงต้องซับเข้ามาและปล่อยออกไปเหมือนน้ำกับน้ำเกลือ เราไม่สามารถเปลี่ยนความ Toxic ของคนได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ก็สามารถทำได้ 

แล้วถ้าเราเป็นคน Toxic เองเราจะรู้ตัวไหม? หากมีความรู้เท่าทันตัวเองเราก็จะรู้ว่าตนเองเป็น Bad Guy ได้ ซึ่งเราต้องยอมรับว่าไม่มีใครดี 100% แต่เราต้องดูว่าเขามีเรื่องที่ดีในส่วนไหน ที่เรารับได้ ดังนั้นอย่าไปชี้ใครว่า Toxic เราต้องตระหนัก 

สำหรับการรับคนเข้าทำงานในองค์กร สิ่งรกที่เราจะดูโปรไฟล์ก่อน ถ้ามีประสบการณ์จะเอา ไม่ได้ดูจากเรซูเม่เป็นหลัก และจะให้การบ้านไปทำ แต่จะดูได้ว่าเก่งจริงหรือไม่ เพราะระหว่างพรีเซนต์มันเหมือนได้เห็นวิธีคิด ทัศนคติ 

หากเราเจอเจ้านายที่น้ำเต็มแก้ว คือ สุดท้าย Leader is Culture หัวเป็นยังไง หางก็จะเป็นแบบนั้น แต่หากเราเจอหัวหน้าที่ไม่ฟังเลย เราต้องดูว่าคนนี้ทำให้เราประสบความสำเร็จในงานหรือชีวิตได้หรือไม่ หากประเมินแล้ว ว่าอยู่ไปแล้วไม่เจริญควรจะรีบเดินออกมา ขณะเดียวกันหากอยู่แล้วเห็นโอกาสในการที่จะเติบโต เราก็อาจจะเล่นได้ ดังนั้นหากอยากจะเติบโตเราจะต้องยอมแลก “หากอยากเก่งต้องบริหารจัดการหัวหน้าคนนั้นให้ได้” 

ด้าน คุณแท็บ รวิศ หาญอุตสาหะ CEO บริษัทศรีจันทร์ และ Mission To The Moon เล่าว่า เรื่องการทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home นั้น มองว่าควรจะมีวันที่เจอกันบ้างเพื่อระดมสมอง สังคมการทำงานจำเป็นต้องเจอหน้ากัน

ทั้งนี้ การมีวิธีวัดผลการทำงานที่ชัดเจนถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการตั้ง KPI ถือเป็นจุดเริ่มต้น ที่จะทำให้การทำงานนั้นประสบความสำเร็จ 

ส่วนคำพูดที่บอกว่า คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยอดทนนั้น มองว่าเป็นที่ธรรมชาติของแต่ละคน อย่างคนสมัยก่อนไม่มีทางเลือกเยอะ สิ่งที่ทำได้คือทำหน้าที่ให้ดีที่สุด แต่คนสมัยนี้มีทางเลือกเยอะ มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทำให้คนรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงตาม

สำหรับการพิจารณารับคนเข้าทำงาน มองว่าสิ่งที่สำคัญของผู้สมัครงาน คือ การเตรียมตัว และในขั้นตอนการสัมภาษณ์ มักจะถามเรื่องวิธีการแก้ปัญหา เช่น ถามว่าเรื่องที่หนักสุดในชีวิตคืออะไร เพื่อดูว่าเขามีวิธีคิดอย่างไร

นอกจากนี้ คุณแท็บ ยังเล่าถึงวิธีการจัดการคนที่ “น้ำเต็มแก้ว” ว่า ต้องยอมให้เขาทำงานบางอย่าง แม้ว่ารู้ว่ามันจะไม่สำเร็จ เพื่อให้เขาพิสูจน์ด้วยตนเอง ว่าสิ่งที่คิดอยู่นั้นผิด จึงค่อยหาโอกาสที่เหมาะสมเพื่อเข้าไปอธิบาย และพูดคุย

“การเป็นลูกน้องที่ดีและหัวหน้าที่ดี คือ เราต้องเตรียมตัวและเตรียมพร้อมให้ดีในบทบาทนั้นๆ หากเป็นหัวหน้าต้องรับผิดชอบ และตัดสินใจสิ่งที่สำคัญในองค์กรให้ดี และหากเป็นลูกน้องต้องมอบงานที่ดีให้องค์กร”

ขณะที่ คุณรดา ลภัสรดา พิพัฒน์ Head of Content Creator (Tech & Innovation), Thairath Money กล่าวว่า แม้จะอยู่ใน Gen Z เหมือนกัน แต่ก็ถือได้ว่านิยามความสำเร็จของแต่ละคนแตกต่างกันสิ้นเชิง เพราะความสำเร็จก็จะสัมพันธ์กับการตั้งเป้าหมายในชีวิต ความสำเร็จ เพราะอย่างอุตสาหกรรมสื่อจะต้องใช้ความเป็น “เป็ด” คือ หลายทักษะทำได้ทุกอย่างถึงขั้นที่ว่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องทำทั้งคอนเทนต์ได้ และตัดต่อวิดีโอได้ นั่นจึงถือว่าเป็นมนุษย์ทองคำ 

ส่วนนิยามความสำเร็จขอแบ่งเป็นสองเรื่อง คือ งานและเงิน ทั้งสองอย่างต้องมาคู่กัน เพราะงานหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณ แต่เงินและอาหารหล่อเลี้ยงร่างกายและความเป็นอยู่ ส่วนคุณค่าในแบบฉบับของเราคือ คุณค่าต่อตนเอง ต่อทีม ต่อองค์กร และต่อผู้มีส่วนร่วม

ขณะเดียวกันไม่ชอบคุณลักษณะหัวหน้าแบบไหน? รดา มองว่า ไม่ชอบคนที่ EQ ต่ำ แบบที่ไม่มีความฉลาดทางอารมณ์ จัดการอารมณ์ตนเองไม่ได้ ดังนั้นหากเจอคนที่ EQ ต่ำจะขอถอยหนี เพราะจะทำให้ทีม Toxic ซึ่งด่า หรือว่ากล่าวตักเตือนได้ แต่ขอให้อยู่ในเหตุผล และต้องบริหารจัดการอารมณ์ตนเองให้ได้เช่นเดียวกัน

ส่วนเรื่องของการพราวในอำนาจ ยึดติดกับหัวโขนและตำแหน่ง มองว่าไม่ชอบคนที่มีอีโก้ ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ไม่รับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น เพราะปัจจุบันบริบทสังคมเปลี่ยนไป ดังนั้นต้องทำความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน อย่ายึดติดกับอดีตหรือสิ่งที่ผ่านมาแล้วเพียงเพราะคำว่า “อาบน้ำร้อนมาก่อน” 

เพราะการทำงานในสายข่าวคือ การทำงานทั้งวันทั้งคืน แบบ 24/7 ซึ่งต้องมีความหลงใหล ตั้งใจในการเป็นนักข่าว และเมื่อคนทุก Gen ต้องมาทำงานร่วมกัน เวลาทำงานนอกเวลาก็ไม่ได้รู้สึกแปลกไปจากเดิม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจจะต้องขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการและตกลงร่วมกันนั่นเอง

ทั้งนี้วัฒนธรรมในการทำงานที่อยากมี 3 ข้อ คือ 1.ด้วยความที่กระหายความชนะ และการแข่งขัน เพราะมันมีเป้าหมายชัด มันจะมัน และรู้สึกว่าเราพยายามสร้าง Culture การให้พื้นที่ปลอดภัย ทุกคนมีการเสนอไอเดีย กล้าพูด เพราะจะทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดี ด้วยเพราะ #Thairath Money เป็นแบรนด์ที่เพิ่งตั้งขึ้น อาจจะต้องใช้องค์ประกอบหลายอย่าง จึงจะทำให้การทำงานมีความสุขในทุกวันได้ 

2.ความยืดหยุ่นในการทำงาน เช่น เวลาเข้างานเราไม่ได้กังวลว่าจะต้องทำงานตามเวลา แต่ขอให้งานสำเร็จก็พอ และ“ผลลัพธ์” ที่มันออกมาจะดีเอง 

3.ความเสมอภาค เรารู้สึกว่าอย่ายึดติดกับหัวโขน เพราะมันจะทำให้มองคนไม่เท่ากัน และจะให้โอกาสคนไม่เท่ากันเช่นกัน ดังนั้นมันควรจะเกิดในทีม และในองค์กร

ส่วนความ Toxic ที่ไม่อยากให้มีในองค์กร คือ การมีคน EQ ต่ำในทีม เพราะถ้าไม่มีความฉลาดทางอารมณ์จะส่งผลต่อทัศนคติของคนในทีม เสมือนตัวปล่อยท่อไอเสีย ซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นสเตตัสลูกน้องอย่างเดียว แต่อาจจะเป็นหัวหน้าก็ได้เช่นกัน เพราะ Culture ทีมจะพัง ทำให้เกิดการทำงานแบบขอไปที อีกอย่างคือ คนที่น้ำเต็มแก้วไม่รับฟังจะอยู่ยาก อาจจะไม่พร้อมอยู่ในสังคมการทำงาน 

สุดท้ายนี้สิ่งหนึ่งที่เราทำคือเราจะต้องรู้คุณค่าของตนเอง เปลี่ยนจากการตั้งเป้าหมายในเรื่องของ “เงิน” เป็นพื้นฐานในการ Make Money และถ้าขอพร 3 ข้อได้ อยากขออะไร? ในฐานะคนรุ่นใหม่ขอกับประเทศไทย ขอตอบรวมๆ แล้วว่า ขอให้ประเทศไทยมีความยุติธรรม เท่าเทียม ที่สังคมมันป่วยเกินจะแก้ ขอให้ประเทศรู้ตัวว่ากำลังป่วยกับอะไร เพื่อที่คนรุ่นใหม่จะไม่เติบโตไปบนความเน่าเฟะ และทุกคนจะได้เห็นและเติบโตได้ 

ถ้ารู้สึกว่าอยู่กับคนที่ไม่เจริญ ก็แค่เดินออกมา

และเราต้องเลือกว่าจะอดทนกับอะไร และมันคุ้มหรือไม่ หากมันไม่คุ้มก็ไปดีกว่า อย่างวัยเรา ลองไว เทสต์วัย มีความรู้สึกไว หากไม่ใช่แต่ลองให้โอกาสทั้งข้างนอกและตัวเอง ถ้าไม่ใช่เลือกไปดีกว่า แต่หากเราอดทนแล้วมันไปได้ก็คุ้มค่า อย่าโทษคนรุ่นใหม่อย่างเดียวต้องพิจารณาว่าองค์กรมันเป็นยังไง จึงต้องกลับมาดูที่ต้นทาง หรือองค์กรว่าเป็นอย่างไร 

เรซูเม่แบบไหนที่ดูแล้วอยากรับได้ คนเก่งกับคนที่พัฒนาได้เลือกอะไร? เขาจะต้องใส่ใจในเรซูเม่ทำให้มันน่าสนใจ สะท้อนความตั้งใจ ความประทับใจแรก อย่างแรกที่เวลาสัมภาษณ์เราไม่ต้องการคนที่เก่งมาก แต่ต้องการคนที่พัฒนาได้มากกว่า แต่ต้องอาศัยพื้นฐานที่ต้องมีด้วยเช่นกัน 

เจอเจ้านายน้ำเต็มแก้ว จะต้องประเมินว่าหัวหน้าคนนั้นเราพูดด้วยมากแค่ไหน หากพูดด้วยไม่ได้ และทำร้ายตัวเองก็อย่าพูด เอาตัวเองออกมาดีกว่า หากไม่เปิดโอกาสอย่าแกว่งเท่าหาเสี้ยนดีกว่า แต่หากพอที่จะมีช่องได้อาจจะคุยตรงๆ ว่าทีมสถานการณ์เป็นอย่างไรด้วยเหตุผล

"การเป็นเจ้านายที่ดี การเป็น Senior ต้องเสียสละมากขึ้น ไม่ใช่ว่ามีอำนาจมากขึ้น แม้ว่าจะมีตำแหน่งสูงก็ตาม และลูกน้องที่ดี ควรจะทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อหัวหน้าทีมและองค์กรมากที่สุด รับผิดชอบหน้าที่ให้ดี และมีมายด์เซตที่ดีที่จะทำให้ทีมดีขึ้น และ Goal ได้ในที่สุด" 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์