คนไทยไม่หวั่น! แม้รายได้น้อย ยอมควักกระเป๋า จ่ายเงิน “ซื้อความสุข” แห่ดูคอนเสิร์ต ปีละ 2 ครั้ง

Business & Marketing

Executive Interviews

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

คนไทยไม่หวั่น! แม้รายได้น้อย ยอมควักกระเป๋า จ่ายเงิน “ซื้อความสุข” แห่ดูคอนเสิร์ต ปีละ 2 ครั้ง

Date Time: 4 มี.ค. 2567 16:53 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • กระแสดูคอนเสิร์ตกลับมาบูมอีกครั้ง! GMM SHOW เผยคนไทยดูคอนเสิร์ตหรือเทศกาลดนตรี เฉลี่ย 2 ครั้งต่อปีเท่านั้น จึงเป็นเหตุผลให้ GMM SHOW นำ Big Data ที่มี มากลั่นกรองเป็นงานคอนเสิร์ตแห่งปีที่จะเสิร์ฟบรรดา "ผู้รักเสียงเพลง" ประเดิมงานแรก Chang Music Connection presents Rock on The Beach เทศกาลดนตรีร็อกริมทะเล

บรรยากาศการยืนกระโดด กอดคอ ตะโกนร้องท่อนเพลงที่ชอบไปตามเมโลดี้ เรามักจะเห็นบ่อยชัดขึ้น ผ่านการจัด “คอนเสิร์ต” ที่แทบจะจ่อต่อคิวจัดแสดงแบบงูกินหางเลยก็ว่าได้ ทำให้หลายคนมองว่า “คงไม่ต้องขายไต” เพื่อซื้อบัตรคอนกันแล้ว 

หลังจากที่เงียบเหงาไปสามสี่ปีในช่วงโควิดที่ผ่านมา บรรยากาศทั่วกรุงเทพฯ และในหัวเมืองหลัก ก็กลับมาคึกคักกันอีกครั้ง ทั้งมิวสิกเฟสติวัล คอนเสิร์ตเดี่ยว หรือแม้จะเป็นเดี่ยวไมโครโฟน แฟนมีต โดยที่แลนด์มาร์กสำคัญๆ ก็หนีไม่พ้นสเตเดียมขนาดใหญ่ ฮอลล์ และตามต่างจังหวัด อย่างภูเขา ทะเล สวนดอกไม้ ที่ให้อารมณ์ความรู้สึกแบบฟีลกู๊ด ดังนั้นหากจะขนานนามว่า “ไทยแลนด์แดนคอนเสิร์ต” ก็คงไม่ผิดเพี้ยน

ในครั้งนี้เราจะพาไปพูดคุยกับ “ยุทธนา บุญอ้อม” Senior Executive Vice President - Showbiz หน่วยงาน GMM SHOW บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด ถึงภาพรวมการจัดคอนเสิร์ตในมุมมองของ GMM SHOW

เริ่มแรก ป๋าเต็ด บอกกับเราว่า “รู้ไหม ทุกวันนี้การจัดคอนเสิร์ตและเทศกาลดนตรีมีความท้าทายมาก เพราะท่ามกลางงานนับร้อยพันที่เกิดขึ้นในแต่ละปี คนไทยจะดูคอนเสิร์ตหรือเทศกาลดนตรี เฉลี่ย 2 ครั้งต่อปีเท่านั้น ดังนั้น ถ้าอยากดึงดูดใจผู้บริโภคได้ ก็ต้องทำให้งานของเรา กลายเป็นตัวเลือกที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ” 

และนั่นเองเป็นเหตุผลที่ทำให้การเดินทางของ GMM SHOW ในฐานะผู้นำในการจัดเทศกาลดนตรี จึงให้ความสำคัญกับการจัดงานที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด ทั้งในเรื่องของแนวเพลง รูปแบบการจัดงานที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ โปรดักชัน สิ่งอำนวยความสะดวก และอื่นๆ เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคกลุ่มเดิมยังคงอยู่กับเรา พร้อมกับดึงผู้บริโภคกลุ่มใหม่เข้ามา จึงเปรียบเสมือนกับ ร้านค้าที่มี “สินค้า” พร้อมเสิร์ฟผู้บริโภคอยู่เสมอ 

“ความตั้งใจของ GMM SHOW คือ การจัดเทศกาลดนตรี ในหลายจังหวัด ทั่วทุกภูมิภาค เราเลยจะมองหาพื้นที่ใหม่ๆ ที่มีความพร้อมในการจัดงานอย่างต่อเนื่อง โดยในเรื่องของ ‘ความพร้อม’ นั้น เราให้ความสำคัญกับความพร้อมของคนในพื้นที่ และความพร้อมของพื้นที่จัดงานเป็นหลัก”

จาก Big Data สู่เทศกาลดนตรีใหม่ ได้ใจชาวร็อก

ส่วนโปรเจกต์ล่าสุดที่ GMM SHOW กำลังจะทำคือ Chang Music Connection presents Rock on The Beach เทศกาลดนตรีร็อกริมทะเล ครั้งแรกในไทย ที่จะมาสร้างภาพจำใหม่ให้ชาวร็อก โดยจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2024 ที่จะถึง แต่ที่น่าตกใจคือ Sold Out บัตรทั้ง 12,000 ใบ ตั้งแต่ 3 นาทีแรกที่เปิดจำหน่าย 

ทั้งนี้ Rock on The Beach เลือกปักหมุด หาดแหลมเจริญ จังหวัดระยอง เป็นพื้นที่แรก เนื่องจากมองว่า ภาคตะวันออกถือเป็นทำเลที่มีศักยภาพ จาก Big Data ด้านการตลาด ที่ GMM SHOW เก็บรวบรวมมานานหลายปีจากหลายๆ งานที่ได้จัดไปแล้ว ชี้ให้เห็นว่า ผู้คนในภาคตะวันออก เช่น ระยอง ชลบุรี ตราด ฯลฯ เดินทางมาร่วมงานมิวสิก เฟสติวัล ของ GMM SHOW ค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับคนจากภาคอื่น และไลฟ์สไตล์ของคนในภาคตะวันออก ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยว จะชื่นชอบความบันเทิง การชมเทศกาลดนตรีกันอยู่แล้ว และยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากต่างถิ่น 

รวมทั้งสาเหตุที่เลือก หาดแหลมเจริญ จ.ระยอง เนื่องจากตัวหาดมีขนาดพื้นที่ที่เหมาะสม ตั้งอยู่ในโลเคชันที่เดินทางสะดวก มีที่พัก ร้านอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวก พร้อมรองรับผู้ชมงานกว่า 12,000 คนได้ อีกทั้งหาดแหลมเจริญเอง ก็ยังไม่เคยมีการจัดเทศกาลดนตรีร็อกมาก่อน GMM SHOW จึงเห็นว่านี่เป็นโอกาส ที่จะสร้างประสบการณ์ทางดนตรีใหม่ๆ 

นับเป็นอีกหนึ่งซอฟต์พาวเวอร์ ที่ช่วยสร้าง Music Tourism ให้เกิดขึ้นในภาคตะวันออก เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้ให้ท้องถิ่น และทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เติบโตไปพร้อมกัน 

Rock on The Beach กับความตั้งใจเป็นซอฟต์พาวเวอร์  

ทั้งนี้ก่อนจะจัดเทศกาลคอนเสิร์ตใดๆ ก็ตามจะเริ่มตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ การศึกษาหาข้อมูล รับฟังฟีดแบ็ก ปรับแก้งาน ตลอดจนออกแบบงาน วางแผนการจราจร เปิดโอกาสให้คนในพื้นที่มาทำงานร่วมกัน ช่วยโปรโมตร้านอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง รวมถึงการนำเอกลักษณ์ท้องถิ่นอีกมากมาย มาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ภายในงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายมากที่สุด

“เราเชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่จะจัดเทศกาลดนตรีประจำท้องถิ่นได้ไม่ต่างจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่จัดงาน ทีมโปรดักชัน สภาพแวดล้อมที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว หรือแม้แต่ศิลปินไทยที่มีสามารถดึงดูดชาวต่างชาติได้”

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า Chang Music Connection Presents Rock on The Beach จะสร้างรายได้หมุนเวียนในจังหวัดระยองได้กว่า 40 ล้านบาท และมีสัดส่วนผู้เข้าร่วมงานเป็นคนพื้นที่จังหวัดระยอง 40% และนักท่องเที่ยวจากพื้นที่อื่นๆ ประมาณ 60%

“ดังนั้นในปี 67 และต่อๆ ไป GMM SHOW จะนำ DATA ที่เก็บรวบรวมจากผู้บริโภค มาปรับใช้กับการจัดงาน เพื่อวางแผน และพัฒนาเทศกาลดนตรีที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงสร้างเทศกาลดนตรีแบรนด์ใหม่ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งจะเดินหน้าผลักดันให้งานต่างๆ ที่เราจัด เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อเติบโตไปพร้อมกับภาคธุรกิจได้อย่างแท้จริง” ยุทธนา กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านการตลาดของ Thairath Money ได้ที่นี่


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์