กลุ่มเจ้าสัวเจริญ ปั้น วัน แบงค็อก ยกเป็นต้นแบบกรีนสมาร์ทซิตี้ใจกลางกรุง ดูแลสิ่งแวดล้อมทุกมิติ

Business & Marketing

Corporates

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

กลุ่มเจ้าสัวเจริญ ปั้น วัน แบงค็อก ยกเป็นต้นแบบกรีนสมาร์ทซิตี้ใจกลางกรุง ดูแลสิ่งแวดล้อมทุกมิติ

Date Time: 5 ต.ค. 2566 18:46 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • ภาครัฐและเอกชนจับมือโชว์วิสัยทัศน์ พัฒนาเมืองบนความยั่งยืน นำโดย เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ จัดเสวนาพิเศษในหัวข้อ “The Future of Sustainability and Smart City Living for Better Community” ในงาน Sustainability Expo 2023 พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเมืองที่เชื่อมโยงกับผู้คนเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

Latest


นายปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด เผย วิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืน กรอบสำคัญในการทำธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมเป้าหมายในการมุ่งมั่นพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างผลลัพธ์เชิงบวก สร้างพื้นที่และที่อยู่อาศัยที่จะมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต เข้าถึงคนทุกระดับเพื่อคนทุกชนชั้น ทำให้ผู้คนใช้งานพื้นที่เหล่านั้นได้จริงและได้รับประสบการณ์ที่ดีจากบริการอย่างลึกซึ้ง โดยเชื่อว่ากรอบต่างๆ จะพัฒนากลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการเปลี่ยนเมืองให้น่าอยู่และเป็นแนวทางในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

พร้อมกันนี้นายปณตกล่าวถึง วัน แบงค็อก โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่พัฒนาโดยบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ต้นแบบกรีนสมาร์ทซิตี้ใจกลางกรุงเทพฯ ที่พัฒนาบนหลักการความยั่งยืน และมาตรฐานใหม่ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อผู้คนและส่งเสริมการพัฒนาเมืองตลอดจนสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ  

พร้อมทั้งนำเสนอรายละเอียดของโครงการผ่านนิทรรศการ "One Bangkok Immersive Pavilion" เพื่อให้ผู้ชมงานได้เห็นภาพจำลองของนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนที่นำมาใช้กับโครงการฯ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในโครงการได้อย่างชัดเจนสมจริง 

อาทิ  Central Utility Plant (CUP) ระบบอัจฉริยะที่รวบรวมการทำงานทุกระบบไว้ในที่เดียวเปรียบเสมือนหัวใจของ วัน แบงค็อก โดยมี District Command Center ศูนย์บัญชาการกลางพร้อมเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบควบคุม บริหารจัดการ และทำงานร่วมกันกับแพลตฟอร์ม Smart Estate ควบคู่กับระบบ AI ขั้นสูงเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการระบบการใช้น้ำและพลังงานไฟฟ้าของโครงการ พร้อมติดตั้งระบบเซ็นเซอร์และจุดควบคุมอัจฉริยะมากกว่า 250,000 ตัว รวมถึงกล้องวงจรปิดกว่า 5,000 จุด ที่สามารถตรวจสอบและบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อประสิทธิภาพของระบบรักษาความปลอดภัย

ระบบ Traffic Control ตรวจสอบและรายงานสภาพการจราจรภายในโครงการ, Smart Pole ที่ให้แสงสว่างและกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในทั่วทุกพื้นที่ โดยวัน แบงค็อก เป็นโครงการฯ ที่มีความเป็นเลิศแห่งการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ ครอบคลุมทุกพื้นที่เป็นโครงการแรกในประเทศไทยที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน WiredScore Platinum ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดจาก WiredScore ตอกย้ำความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้อาคารในการเชื่อมโยงดิจิทัล (Digital Connectivity) ทั้งเชิงกายภายภาพและทางไซเบอร์ 

นอกจากนี้  วัน แบงค็อกถูกพัฒนาขึ้น ให้สอดคล้องกับ Sustainable Development โดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ Electric Power Saver ระบบกักเก็บไฟฟ้าสำรอง 24 ชม., District Cooling System ระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, Smart Water Management ระบบบริหารจัดการน้ำแบบหมุนเวียน, Construction Waste Management  การนำเทคโนโลยีบดย่อยเศษขยะคอนกรีตจากหัวเสาเข็มเพื่อนำไปสร้างผนังอาคาร การนำเศษอิฐมวลเบาที่เหลือใช้จากการก่อสร้างมาผลิตเป็นแผ่นผนังกันเสียงในอุโมงค์ทางลอดเข้าโครงการฯ, Food Waste Management  เทคโนโลยีการจัดการเปลี่ยนขยะเศษอาหารให้กลายเป็นปุ๋ย ผ่านเครื่อง Food Waste Composter, และการใช้เครื่องบดอัดขยะ Smart Compactor ที่ช่วยลดพื้นที่และเพิ่มสุขอนามัยในการจัดเก็บขยะ 

นอกจากนี้บนเวทีเสวนา นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมเปิดเผยถึงความมุ่งหวังจากภาครัฐต่อภาคเอกชนในการพัฒนาสังคมให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยระบุว่า เอกชนคือส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้นโยบายภาครัฐส่งตรงไปถึงประชาชน ทั้งระดับรากหญ้า SMEs บริษัทขนาดใหญ่ตลอดทั้งซัพพลายเชน และทำให้นโยบายที่กำหนดเป็นไปได้จริง ไม่เช่นนั้นนโยบายภาครัฐจะเป็นเพียงตัวหนังสือบนกระดาษ 

ขณะเดียวกัน นายเรอโน เมเเยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) ให้มุมมองในภาพใหญ่ว่า ปัจจุบันหลายประเทศเองกำลังการเผชิญกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติเกี่ยวข้องกับปัญหาของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโดยตรง ซึ่งนั่นหมายถึง ผลกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานในการมีชีวิตที่มั่นคงและการอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี 

"การขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขเรื่องนี้ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย ไม่ใช่เพียงแต่หน่วยงานรัฐและเอกชน ขณะเดียวกันภาคประชาชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมและตื่นตัวเพื่อขับเคลื่อนแก้ไปพร้อมกันอย่างจริงจังโดยเฉพาะภาครัฐต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานและระบบที่บูรณาการเพื่อเปิดให้เกิดการขับเคลื่อนจากทุกฝ่าย และสุดท้ายผู้มีส่วนร่วมทุกคนต้องพูดจริงทำจริงตามนโยบายหรือเป้าหมายที่ตั้งไว้" 

นอกจากนี้ เชอร์รี่-เข็มอัปสร สิริสุขะ นักสิ่งแวดล้อมและธุรกิจเพื่อสังคม เสนอมุมมองจากภาคประชาชนต่อภาครัฐและเอกชน ว่า เอกชน คือ ผู้นำตลาดที่จะเป็นตัวอย่างในการเปลี่ยนแปลง และขณะเดียวกันต้องเสนอทางเลือกแก่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งขยายการพัฒนาสู่พื้นที่ต่างจังหวัดนอกเหนือจากกรุงเทพฯ นอกจากนี้รัฐเองต้องมีนโยบายที่สร้างข้อผูกพันและบังคับใช้จริง ไม่เพียงแต่การดำเนินการขอความร่วมมือ 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์