กลุ่มเจ้าสัวเจริญ เนรมิต ย่านประตูน้ำใหม่ เปลี่ยนพื้นที่ พันธุ์ทิพย์เดิม เป็น ‘ศูนย์ค้าส่งอาหารยักษ์ใหญ่ระดับอาเซียน’

Business & Marketing

Corporates

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

กลุ่มเจ้าสัวเจริญ เนรมิต ย่านประตูน้ำใหม่ เปลี่ยนพื้นที่ พันธุ์ทิพย์เดิม เป็น ‘ศูนย์ค้าส่งอาหารยักษ์ใหญ่ระดับอาเซียน’

Date Time: 19 เม.ย. 2566 18:26 น.

Video

สาเหตุที่ทำให้ Intel อดีตยักษ์ใหญ่ชิปโลก ล้าหลังยุค AI | Digital Frontiers

Summary

  • AWC ปรับปรุง ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์เดิมอีกรอบ สู่ “AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM” (เออีซี ฟู้ด โฮลเซล ประตูน้ำ) เชื่อมผู้ซื้อผู้ขายอุตสาหกรรมค้าส่งในอาเซียนและทั่วทุกมุมโลก

Latest


บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของไทยภายใต้กลุ่มทีซีซี (TCC Group) เผยคอนเซปต์ใหม่ ปรับปรุง AEC Trade Center หรือศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ เดิม สู่ “AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM” (เออีซี ฟู้ด โฮลเซล ประตูน้ำ) เชื่อมผู้ซื้อผู้ขายอุตสาหกรรมค้าส่งในอาเซียนและทั่วทุกมุมโลก โดยมี ไทยเป็นศูนย์กลางค้าส่งวัตถุดิบและอาหารของภูมิภาค ภายใต้แนวคิด “INTEGRATED WHOLESALE PLATFORM FOR NON-STOP OPPORTUNITY” เตรียมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้ สอดรับไปกับอุตสาหกรรมอาหารและท่องเที่ยวที่กำลังพลิกฟื้นกลับมา

AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM ตั้งอยู่บนทำเลเชิงยุทธศาสตร์ย่านประตูน้ำ ใจกลางกรุงเทพฯ มีพื้นที่อาคารรวมกว่า 67,000 ตร.ม. ที่จะตอบโจทย์ความต้องการในการเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการเป็นศูนย์การค้าส่งอาหารของภูมิภาคเชื่อมโยงผู้ซื้อผู้ขายทั้งในไทยและทั่วอาเซียนให้เข้าถึงวัตถุดิบอาหารได้โดยตรง อาทิ กลุ่มผลิตภัณฑ์ 8 ประเภทหลัก ได้แก่ อาหารแช่แข็ง อาหารแช่เย็นและผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องปรุงและวัตถุดิบ ข้าว เครื่องดื่ม กาแฟและชา ขนมขบเคี้ยวและขนมหวาน และของใช้ในครัวเรือน และอีกกว่า 85 ประเภทย่อย รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 3,000 ชนิด

นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยว่า AEC FOOD WHOLESALE PRATUNAM คือ การสร้างมาตรฐานใหม่ที่จะมอบคุณค่าระยะยาวให้กับอุตสาหกรรมการค้าส่งของไทย โดยการตอบโจทย์ทั้งด้านสถานที่การเป็นแหล่งรวมสินค้า (Sourcing Hub) การพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าส่งแบบบูรณาการที่เชื่อมโยงประสบการณ์การค้าส่งทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ (O2O Integrated) รวมผู้ประกอบการชั้นนำและสินค้าที่หลากหลาย และมีคุณภาพจากทั่วโลก อยู่ในแพลตฟอร์มเดียว

พร้อมนำเสนอโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าส่ง ฟีเจอร์และโซลูชันเกี่ยวกับการทำธุรกรรมด้านสินค้าออนไลน์ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจค้าส่ง ทั้งในแง่การบริการจัดการธุรกรรมที่ตรงกับธุรกิจได้ง่ายขึ้น อาทิ Bulk Purchase, Group Purchase, Multi-Level Procurement ศูนย์ส่งเสริมผู้ประกอบการ (Solution Service Center: SSC) ให้คำปรึกษาด้านการส่งออกและนำเข้าสินค้า อีกทั้งยังผลักดันการสร้างเครือข่ายค้าส่ง (WHOLESALE ECO-SYSTEM) ผ่านความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชน

นอกจากนี้ยังกล่าวถึง ภาพรวมโอกาสของอุตสาหกรรมอาหารโดยระบุว่า อาเซียนเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงและมี Food Demand ที่แข็งแกร่ง ด้วยจำนวนประชากรรวมกว่า 800 ล้านคน ในปีที่ผ่านมาสามารถสร้างรายได้จากกลุ่มอาหารสูงถึง 700 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 2 หมื่นล้านบาทและมีอัตราเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยเติบโตต่อปี 6.9% นอกจากนี้ยังคาดว่าภายใน 5 ปี รายได้จากกลุ่มอาหารจะสามารถจะเติบโต 30% หรือเพิ่มขึ้นถึง 900 ล้านดอลลาร์หรือราว 3 หมื่นล้านบาท โดยหลังจากนี้จะได้รับอานิสงส์จากการท่องเที่ยวที่จะช่วยส่งเสริมให้อุตสาหกรรมอาหารเติบโตยิ่งขึ้นอีกด้วย

“ประเทศไทย คือ Strategic Location ที่มีศักยภาพในการเชื่อมต่อการค้าส่งไปยังประเทศต่างๆ ได้อย่างสะดวกผ่านโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่งอีกด้วย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางค้าส่งอาหารของภูมิภาคอย่างแท้จริง” นางวัลลภา กล่าว

สำหรับงบประมาณการลงทุนในโครงการรวมประมาณ 6,500 ล้านบาท ซึ่งรวมตั้งแต่การเริ่มต้นลงทุนซื้อตัวอาคารพันธุ์ทิพย์รวมถึงการปรับปรุงรีโนเวตและติดตั้งระบบการบริหารจัดการอาคารช่วงก่อนปี 2562 จนถึงปัจจุบัน รวมแล้วมูลค่าโครงการรวมอยู่ที่ 1 หมื่นล้านบาท โดยเตรียมเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้ พร้อมคาดการณ์การตอบรับเต็มพื้นที่จากธุรกิจกว่า 600 เจ้า ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายแรก ได้แก่ ลูกค้ากลุ่ม B2B และกลุ่มผู้ขายที่ต้องการโซลูชันแบบดิจิทัล

พันธมิตรในครั้งนี้ประกอบด้วยภาครัฐและภาคเอกชนผู้นำธุรกิจอาหารชั้นนำของไทย อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และอี้อู (Yiwu) ผู้พัฒนาและบริหารตลาดค้าส่งสินค้าเบ็ดเตล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากเมืองอี้อู สาธารณรัฐประชาชนจีน บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ โกล บอล ฟู้ด โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จํากัด (มหาชน) บริษัท พี อาร์ จี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ตลอดจนหอการค้าจากประเทศต่างๆ อาทิ สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย-จีน หอการค้าออสเตรเลีย-ไทย หอการค้าไทย-แคนาดา หอการค้าไทย-นิวซีแลนด์ หอการค้าสวิส-ไทย สมาคมหอการค้าไทย-สเปน 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์