• Future Perfect
  • Articles
  • SCGC จับมือ 2 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ผลักดันการรีไซเคิลพลาสติก "พีวีซี"

SCGC จับมือ 2 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ผลักดันการรีไซเคิลพลาสติก "พีวีซี"

Sustainability

ความยั่งยืน31 พ.ค. 2567 15:50 น.

SCGC จับมือ 2 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ไทย-อิสราเอล ร่วมผลักดันการรีไซเคิลพลาสติกพีวีซี เปลี่ยนเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เตรียมนำร่องใช้ครั้งแรกในไทย

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ร่วมกับ 2 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้แก่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) และสำนักงานนวัตกรรมอิสราเอล (Israel Innovation Authority) หรือ IIA ร่วมผลักดันผลงานด้านนวัตกรรม "โครงการรีไซเคิลพลาสติกพีวีซีด้วยกระบวนการซุปเปอร์ออกไซด์ (Superoxide Process) เพื่อผลิตน้ำมันแนฟทาสำหรับอุตสาหกรรมเคมี" ซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับโรงงานปิโตรเคมี ช่วยแก้ปัญหาการจัดการพลาสติกพีวีซีใช้แล้วซึ่งยากต่อการกำจัด พร้อมส่งเสริมงานวิจัยด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่งานวิจัยเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ SCGC มีแผนนำร่องทดลองใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตามแนวทาง Low Waste, Low Carbon ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการใช้วัตถุ ดิบตั้งต้นจากฟอสซิล และเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green polymer) ในอนาคต

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC กล่าวว่า เทคโนโลยีรีไซเคิลของ Plastic Back สามารถนำพลาสติกชนิดพีวีซีใช้แล้ว กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีอัตราการรีไซเคิลได้เกือบ 100% ทำให้พลาสติกพีวีซีใช้แล้วที่ กำจัดด้วยกระบวนการทั่วไปได้ยาก สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้

นอกจากนี้ เทคโนโลยีนี้ยังสามารถใช้งานได้หลากหลาย ทั้งแบบยูนิตเดี่ยวสำหรับติดตั้งโรงงานขนาดเล็ก จนถึงการรีไซเคิลปริมาณมากในระดับอุตสาหกรรม โดย SCGC มีแผนนำร่องทดลองใช้เทคโนโลยีนี้ ในประเทศไทย เพื่อวิจัยหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตน้ำมันแนฟทาสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับโรงงานปิโตรเคมี โดยความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน ตามแนวทางของ SCGC ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมรักษ์โลก ตามแนวทาง Low Waste, Low Carbon เพื่อมุ่งไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

โดยปัจจุบัน SCGC ผลิตและจำหน่ายเม็ดพลาสติกคุณภาพสูง (Virgin Plastic) จาก Circular Naphtha ซึ่งผลิตด้วยเทคโนโลยีรีไซเคิลทางเคมีขั้นสูง (Advanced Recycling) โดยได้รับมาตรฐาน ISCC PLUS (International Sustainability and Carbon Certification) ทั้งนี้ เทคโนโลยีการรีไซเคิลพลาสติกพีวีซีดังกล่าว จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน

นายตัล โคเหน ประธานบริษัทพลาสติกแบ๊ค กล่าวว่า การรีไซเคิลพลาสติกพีวีซี ถือเป็นโอกาสครั้งใหญ่ ความร่วมมือกับ SCGC ครั้งนี้ช่วยให้เราสามารถปิดวงจรการอัปไซเคิลของขยะพีวีซีที่ยากต่อการจัดการได้ และเรายังคงมุ่งหวังจะสร้างความร่วมมือกับ SCGC ต่อไปในอนาคต สุดท้ายนี้ การสนับสนุนจาก NIA และ IIA เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ เราสามารถรวบรวมนวัตกรรม ความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และทรัพยากรอื่นๆ มาสร้างให้เกิดความร่วมมือได้

ขณะที่ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า NIA มุ่งส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมที่ สร้างมูลค่าและส่งผลกระทบเชิงบวกทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อเร่งสร้างโอกาสการเติ บโตให้กับผู้ประกอบธุรกิจนวัตกรรม จึงได้ดำเนิน "โครงการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศเพื่อการเติบโตของธุรกิจนวัตกรรม" ขึ้น โดยร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมอิสราเอล หรือ IIA พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบธุรกิจนวัตกรรมในสาขาธุรกิจที่มีความสนใจร่วมกันระหว่างสองประเทศ

สำหรับโครงการรีไซเคิลพลาสติกพีวีซี ด้วยกระบวนการซุปเปอร์ออกไซด์ เพื่อผลิตน้ำมันแนฟทาสำหรับอุตสาหกรรมเคมี ระหว่าง SCGC และ Plastic Back ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวแรกของความสำเร็จที่ มีการนำนวัตกรรมจากอิสราเอลมาประยุกต์ใช้ ในประเทศไทยนับตั้งแต่มี การลงนามความร่วมมือ (MoU) ด้านนวัตกรรมในปี 2561 ซึ่งนอกจากจะสามารถนำน้ำมันแนฟทาจากกระบวนการรีไซเคิลทางเคมีมาใช้เป็นสารตั้งต้นในโรงงานอุตสาหกรรมหรือจำหน่ายทดแทนแนฟทาจากฟอสซิลที่ปัจจุบันมีราคาขายประมาณ 550 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันแล้ว ยังช่วยลดปริมาณการใช้สารตั้งต้นในกลุ่มฟอสซิลให้แก่ โรงงานปิโตรเคมี และเพิ่มอัตราส่วนของผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำ (Green polymer) ได้อีกด้วย.