• Future Perfect
  • Articles
  • "โออิชิ กรีนที" เดินหน้าขับเคลื่อนความยั่งยืน พัฒนานวัตกรรม "ฝาขวดรักษ์โลก"

"โออิชิ กรีนที" เดินหน้าขับเคลื่อนความยั่งยืน พัฒนานวัตกรรม "ฝาขวดรักษ์โลก"

Sustainability

ความยั่งยืน3 เม.ย. 2567 16:27 น.

"โออิชิ กรีนที" เดินหน้าขับเคลื่อนความยั่งยืน พัฒนานวัตกรรม "ฝาขวดรักษ์โลก" ด้วยการออกแบบฝาขวดให้ติดกับปากขวด ง่ายต่อการเก็บรวบรวมนำไปรีไซเคิล


วันที่ 3 เมษยน 2567 นางสาวสุภรณ์ เด่นไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขยะพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย และหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่ทำให้เกิดขยะพลาสติกตกค้างในสิ่งแวดล้อมคือการไม่คัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง การทิ้งขยะพลาสติกกระจัดกระจาย ก่อให้เกิดปัญหาการอุดตันตามท่อระบายน้ำ ขยะลอยในแม่น้ำลำคลอง บางส่วนไหลลงสู่ทะเล 

โดย "ฝาพลาสติก" เป็นหนึ่งใน 5 อันดับแรกของขยะที่พบมากที่สุดบนชายหาดทั่วโลก เพราะ "ฝาขวด" มักถูกทิ้งไว้กระจัดกระจาย ไม่ได้ติดอยู่กับตัวขวด ทำให้ยากต่อการเก็บรวบรวม โออิชิ กรีนที ในฐานะผู้ผลิต จึงมีความมุ่งมั่นร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการสร้างสรรค์ฝาขวด PET ดีไซน์ใหม่ หรือฝาขวดรักษ์โลก ที่ติดอยู่กับขวด เพื่อลดการทิ้งขยะแยกชิ้น 

โดยได้ตั้งเป้าเปลี่ยนฝาขวดดีไซน์ใหม่กับผลิตภัณฑ์ทุกรสชาติและทุกขนาด ประเดิมในไตรมาส 2/2567 ซึ่งเราหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งก้าวของการสร้างความยั่งยืนให้กับโลก และเชื่อว่าจะสร้างประสบการณ์การดื่มที่ดีขึ้นให้กับผู้บริโภค เพราะเมื่อเปิดขวดแล้ว ฝาขวดยังคงอยู่กับขวด โดยไม่ต้องแยกถือขวดกับฝา

 

บรรจุภัณฑ์ใหม่ ฝาขวดรักษ์โลก

ถึงแม้ขวด PET และฝาขวดของโออิชิ สามารถรีไซเคิลได้ 100% แต่ที่ผ่านมาไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ครบทั้งหมด เนื่องจาก "ขวด" และ "ฝาขวด" แยกออกจากกัน ฝาขวดถูกทิ้งกระจัดกระจาย ทำให้ยากต่อการเก็บไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด จากปัญหาดังกล่าว นำมาสู่การออกแบบฝาขวดรักษ์โลก ฝาจะติดกับปากขวด ง่ายต่อการเก็บรีไซเคิล (Easy to recycle) เพราะเมื่อเปิดขวด ฝากับขวดยังอยู่ด้วยกัน ง่ายต่อการเก็บรวบรวมขวดหลังดื่มเสร็จ ลดปริมาณขยะฝาขวดที่มักถูกทิ้งกระจัดกระจายตามที่ต่างๆ อีกทั้งฝาสามารถเปิด-ปิดซ้ำได้ดี ไม่ขาดง่าย ไม่ต้องแยกถือ ป้องกันการหล่นหาย สะดวกต่อการใช้งาน

นอกจากนั้นโออิชิยังเตรียมเปลี่ยนฉลากบรรจุภัณฑ์เป็น "ฉลากปรุ" กล่าวคือ ฉลากที่มีรอยปรุ เพื่อให้สามารถฉีกฉลากออกจากขวดได้ง่ายขึ้น ทำให้ขวดสามารถนำไปรีไซเคิลได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ขับเคลื่อนทุกมิติความยั่งยืน

ที่ผ่านมา ชาพร้อมดื่ม "โออิชิ" ขับเคลื่อนทุกมิติความยั่งยืน มีการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมและเคารพสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจที่โออิชิให้ความสำคัญ ตลอดจนใส่ใจต่อสุขภาพของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ต้นน้ำการผลิตจนถึงปลายทางผู้บริโภค เพื่อสร้างสมดุลตลอดห่วงโซ่คุณค่า ประกอบด้วย

ด้านวัตถุดิบ มีการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพเพื่อคุณประโยชน์สูงสุดของผลิตภัณฑ์และดีต่อสุขภาพผู้บริโภค ไม่มีการใช้สารเคมีต้องห้ามและใช้ในปริมาณที่จำกัด ตลอดจนมีการคัดเลือกคู่ค้าที่มีศักยภาพและดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อย่างเช่น การเลือกใช้น้ำตาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน BONSUCRO (บองซูโคร) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลกในการผลิตน้ำตาลอย่างยั่งยืน

ด้านกระบวนการผลิต โรงงานผลิตชาพร้อมดื่มโออิชิเป็นโรงงานที่มีกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานระดับสากลและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ มีการติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อลดพลังงานไฟฟ้า, ลดการปล่อยมลพิษ, ลดการใช้น้ำ อีกทั้งยังมีการควบคุมคุณภาพของน้ำที่ปล่อยออกจากกระบวนการผลิตให้ได้ตามมาตรฐานหรือมากกว่า

ด้านบรรจุภัณฑ์ มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง อาทิ

  • ขวด PET และฝาขวดของโออิชิ กรีนที สามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100%
  • ปรับลดขนาด Preform ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการเป่าขึ้นรูปขวด PET ทำให้สามารถลดปริมาณพลาสติกได้ประมาณ 6.4% ต่อปี
  • โออิชิ ชาคูลล์ซ่า เป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบกระป๋องอะลูมิเนียมที่ยกระดับไปสู่ความยั่งยืน เพราะมีการนำกลับมาใช้ใหม่ 100% ซึ่งการเพิ่มสัดส่วนวัสดุรีไซเคิลสามารถลดพลังงานในกระบวนการผลิตกระป๋องได้มากถึง 95% และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เมื่อเทียบกับการผลิตกระป๋องอะลูมิเนียมปกติ และในปัจจุบันผลิตภัณฑ์โออิชิ ชาคูลล์ซ่า มีสัญลักษณ์ Aluminium loop ระบุอยู่ เนื่องจากเป็นกระป๋องอะลูมิเนียมที่หมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่
  • ฉลากบนขวดผลิตภัณฑ์ ได้เปลี่ยนมาใช้วัสดุ PET แทน PVC เนื่องจากวัสดุ PET สามารถนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้

ด้านการจัดจำหน่าย มีการจัดเส้นทางการจัดจำหน่ายอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการบริหารจัดการระบบการขนส่งและกระจายสินค้า เพื่อบริหารการใช้พลังงานเชื้อเพลิงให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนลดปริมาณการใช้น้ำมัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการขนส่ง

นอกจากนี้ โออิชิได้เข้าร่วมในโครงการ "PackBack เก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืน" ร่วมมือกับหน่วยงานกว่า 100 องค์กร ประกอบไปด้วยผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก ผู้ทำธุรกิจรีไซเคิล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันวิจัย เพื่อนำหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต หรือ Extended Producer Responsibility (EPR) มาใช้ในการจัดบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคภายในประเทศไทย และโออิชิยังได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กรในภาคอุตสาหกรรม จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อีกด้วย.